แมนเดียนท์ ระบุว่า หากปล่อย ให้ระยะเวลาระหว่างการถูกเจาะเข้า ระบบและค้นพบยาวนานเกินไป จะส่งผลกระทบต่อศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจหรือความมั่นคงของรัฐได้ เนื่องจากแฮ็กเกอร์อาจเจาะเข้าระบบโครงสร้างพื้นฐานหลักของประเทศ เช่น สถานีจ่ายไฟฟ้า ซึ่งเคยเกิดมาแล้วกับยูเครน หรือระบบขนส่งสาธารณะ และยังมีการมุ่งเป้าไปยังความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ เช่น ทะเลจีนใต้
ขณะเดียวกัน แฮ็กเกอร์อาจนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ในทางที่ไม่ประสงค์ดี โดยในปี 2015 ที่ผ่านมา แฮ็กเกอร์โจรกรรมข้อมูลทางไซเบอร์ไปมากถึง 500 ล้านคน ในขณะที่หน่วยงานรัฐบาล สถาบันการเงิน ศูนย์วิจัยพลังงานและการศึกษา จนไปถึงสาธารณสุข อวกาศ และความมั่นคง มักตกเป็นเป้าหมายของกลุ่มโจรกรรมทางไซเบอร์ ซึ่งอาจนำข้อมูลไปใช้ต่อหรือทำลายได้
นอกจากนี้ แมนเดียนท์ ยังพบอีกด้วยว่า เอเชียมีโอกาสตกเป็นเป้าโจรกรรมทางไซเบอร์มากถึง 80% เมื่อเทียบกับส่วนอื่นๆ ของโลก โดยมีข้อมูลถูกโจรกรรมเฉลี่ยต่อครั้ง 3.7 กิกะไบต์ หรือคิดเป็นเอกสารหลายหมื่นฉบับ และหลายครั้งการโจมตีก็ไม่ได้รับการเปิดเผยต่อสาธารณะ เนื่องจากขาดกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ที่มา : Posttoday.com

Love Attack เทศกาลความรักแบบนี้ บอกอ้อมๆให้เขารู้กัน
Chocolate Dreams สาวชั่งฝันและช็อคโกแลต กับหนุ่มหล่อ ไม่แน่คุณอาจจะได้เจอแบบนี้ก็ได้
Love You Like Crazy เพลงเพราะๆ ที่ถ้าส่งให้คนที่เรารัก โลกนี้ก็สีชมพูกันทีเดียว