แบงค์เผยเกือบ100% สมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบนี้...โดนแอพฯดูดเงิน
นอกจากนี้ได้หารือกับธนาคารพัฒนาระบบความปลอดภัยแลกเปลี่ยนข้อมูลและแนวทางป้องกันภัยร่วมกัน เช่น พัฒนาการป้องกันและควบคุมโมบายแบงก์กิ้ง กรณีมือถือมีการเปิดใช้งานการช่วยเหลือพิเศษ รวมทั้งเพิ่มระบบการพิสูจน์ตัวตนด้วยไบโอเมททริก เช่น สแกนใบหน้า เป็นต้น และรอร่างพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี มีผลบังคับใช้ จะช่วยให้การดูแลช่วยเหลือประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพทำได้รวดเร็วขึ้น ระงับความเสียหายได้อย่างทันท่วงที สามารถบล็อกบัญชีต้องสงสัยได้ โดยไม่ต้องรอแจ้งความ
ส่วนเรื่องบัญชีม้า ที่ผ่านมาติดเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล เพราะถ้าโจรโอนเงินข้ามบัญชีจะมีความยุ่งยากของกฎหมาย จึงขอบคุณรัฐบาลรับฟังพวกเราที่จะแก้ปัญหา ภาคธนาคารแก้ไม่ได้ด้วยตัวคนเดียว ซึ่งการออกพ.ร.ก.มานั้น ให้ธนาคารแลกเปลี่ยนข้อมูลข้ามธนาคารอย่างไม่ผิดกฎหมาย รวมทั้งจะจัดการติดตามบัญชีม้าเร็วขึ้น ไม่การันตีตามได้ทุกเคส แต่ตามได้มาก เป็นการหักขาม้า ถ้าหัก 20 บัญชี โจรก็ต้องไปหาบัญชีม้ามาเพิ่มเพื่อใช้ในการโอนเงินเพิ่ม และบุคคลใดมีซิมมากจนน่าสงสัย เช่น บางคนมี 50 เบอร์ 100 เบอร์ หลังจากนี้ถ้าเครือข่ายมือถือแชร์ข้อมูลกับภาคธนาคาร จะเห็นบัญชีม้ามากขึ้น จะเห็นบัญชีม้าที่ยังไม่เคลื่อนไหว ทำให้สามารถเฝ้าระวังได้ เมื่อเกิดปัญหาธนาคารจะไล่จับได้ง่ายมากขึ้น
ทั้งนี้ข้อสังเกตของมิจฉาชีพหลอกให้เหยื่อติดตั้งแอพพลิเคชันจำพวกรีโมท จากนั้นมิจฉาชีพจะรีโมทเข้ามาดูและควบคุมมือถือของเหยื่อเพื่อโอนเงินออกทันที ,หลอกให้ติดตั้งแอพอันตราย เมื่อติดตั้งแล้วจอมือถือของเหยื่อจะค้าง โจรจะรีโมทมาควบคุมมือถือของเหยื่อ และโอนเงินออกทันที
นายกิตติ โฆษะวิสุทธิ์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ทีบี-เซิร์ต กล่าวว่า ผู้ที่หลงกลตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพให้รีบดำเนินการปิดเครื่องทันที ด้วยวิธีกดฟอร์ซ รีเซ็ท คือ การกดปุ่มพาวเวอร์ และปุ่มลดเสียง พร้อมกันค้างไว้ 10-20 วินาที แต่ถ้าทำวิธีนี้ไม่สำเร็จ ให้ตัดการเชื่อมต่อของโทรศัพท์ด้วยการถอดซิมการ์ด ปิดไวไฟ หลังจากนั้น ให้ติดต่อธนาคาร แจ้งความทันที