‘กล้องจุลทรรศน์’ บนกล้องโทรศัพท์ ฝีมือคนไทย!!



กล้องจุลทรรศน์ อุปกรณ์ตัวใหญ่ที่เป็นดั่งตัวช่วยเรียนรู้เรื่องราวของโลกใบจิ๋ว เป็นไม่ได้ ก็ด้วยคุณสมบัติที่ให้เด็กหลายคนได้มองลอดผ่านเลนส์ขยาย ดูรายละเอียดของสิ่งเล็กๆ บนโลกนี้ แต่เพราะเจ้ากล้องจุลทรรศน์มีข้อจำกัดมากมาย ทั้งเรื่องขนาด การใช้ไฟฟ้า ไปจนถึงเรื่องราคานี่เอง ที่ทำให้อุปกรณ์ชิ้นนี้ห่างไกลจากเด็กไปเสียหน่อย


ศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ประดิษฐ์ "จุฬาสมาร์ทเลนส์" นวัตกรรมเลนส์อัจฉริยะที่ช่วยเปลี่ยนสมาร์ทโฟน สิ่งใกล้ตัวของใครหลายๆ คนตอนนี้ ให้เป็นกล้องจุลทรรศน์เคลื่อนที่ได้ เพียงแค่ใช้หนีบติดกับกล้องสมาร์ทโฟนไม่ว่าจะกล้องหน้าหรือกล้องหลัง ก็ช่วยขยายสิ่งเล็กๆ ให้ชัดเจนขึ้นทั้งระดับ 20 เท่า กับ 40 เท่า และล่าสุดกับระยะซูม 50 เท่า

ด้วยไอเดียที่อยากสร้างมิติใหม่ให้กับการศึกษาผ่านการถ่ายภาพด้วยกล้องสมาร์ทโฟนซึ่งมีความละเอียดเพิ่มขึ้นทุกๆ วัน เนื่องจากเห็นว่ากล้องจุลทรรศน์ทั่วๆ ไปนั้นมีราคาแพง เคลื่อนย้ายยากเพราะใหญ่ และต้องเสียบปลั๊กตลอดเวลา จึงได้ผลิตเลนส์นี้ขึ้นมา แรกเริ่มเพื่อใช้ส่องอัญมณีเนื่องจากได้ทุนวิจัยจากสถาบันวิจัยอัญมณีศาสตร์และเครื่องประดับแห่งชาติมา ภายหลังก็ได้นำไปต่อยอดใช้ส่องวัตถุทั่วไป และได้นำไปใช้ในวิชาวิทยาศาสตร์ ที่โรงเรียนสาธิตฯจุฬาฯ แล้ว

"ทุกวันนี้ใครๆ ก็มีสมาร์ทโฟน เด็กๆ ในโรงเรียนสามารถนำเลนส์ไปหนีบกับสมาร์ทโฟนช่วยทุ่นราคา จากที่ต้องซื้อกล้อง หลายหมื่นบาท เราขายสิ่งนี้ราคา 500 บาท สำหรับเลนส์ 20 เท่า และ 700 บาท สำหรับเลนส์ 40 เท่า เด็กๆ หลายคนนำไปส่องปรสิต เกสรดอกไม้ เซลล์ต่างๆ ช่วยขยายโอกาสทางการศึกษาไปได้เรื่อยๆ หรือแม้กระทั่งผู้ใหญ่ก็นำไปส่องอัญมณี ถ่ายภาพส่งให้ผู้เชี่ยวชาญดูว่าเป็นของปลอมหรือไม่ หรือที่ผ่านมาก็มีผู้เลี้ยงกุ้งนำไปส่อง ถ่ายภาพแล้วส่งให้สัตวแพทย์ดูว่ากุ้งของเขาเป็นโรคหรือไม่ ก็มีประโยชน์ของมันหลากหลายมาก และส่วนตัวก็อยากให้สิ่งนี้เผยแพร่เข้าไปสู่ทุกคน"

"หลังจากที่นำไปโชว์ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ก็มีหลายคนสนใจเครื่องนี้ เพราะจะช่วยทำให้สะดวกมากขึ้นในการใช้เลนส์นี้ ในตอนนี้ยังไม่ทำเพื่อเชิงพาณิชย์ ซึ่งหากสนใจก็สามารถติดต่อได้ที่ภาควิชาเคมีได้"

"ส่วนตัวผมเอง ไม่กังวลว่าจะโดนก๊อปสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ แต่อยากให้คนทั่วไปรู้จักสิ่งๆ นี้ เพื่อนำไปใช้ในด้านการศึกษาโรงเรียนต่างๆ โดยเฉพาะในถิ่นทุรกันดารได้มากกว่า เพราะการเริ่มต้นให้เขาได้ศึกษาสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวนี้ ทำให้เขาอยากรู้อยากเห็นและไปศึกษาเพิ่มเติมได้มากขึ้น"


‘กล้องจุลทรรศน์’ บนกล้องโทรศัพท์ ฝีมือคนไทย!!


‘กล้องจุลทรรศน์’ บนกล้องโทรศัพท์ ฝีมือคนไทย!!


‘กล้องจุลทรรศน์’ บนกล้องโทรศัพท์ ฝีมือคนไทย!!


‘กล้องจุลทรรศน์’ บนกล้องโทรศัพท์ ฝีมือคนไทย!!


‘กล้องจุลทรรศน์’ บนกล้องโทรศัพท์ ฝีมือคนไทย!!


‘กล้องจุลทรรศน์’ บนกล้องโทรศัพท์ ฝีมือคนไทย!!


‘กล้องจุลทรรศน์’ บนกล้องโทรศัพท์ ฝีมือคนไทย!!


‘กล้องจุลทรรศน์’ บนกล้องโทรศัพท์ ฝีมือคนไทย!!

ขอบคุณที่มา > > matichon


ขอบคุณที่มา >> Facebook >> Chula SmartLens


เครดิต :

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์