PayPal.Me คือฟีเจอร์ล่าสุดจาก PayPal ที่สนับสนุนการเติบโตของธุรกิจโซเซียลคอมเมิร์ซทั่วโลก ซึ่งสะท้อนหนึ่งในวิสัยทัศน์หลักของ PayPal ที่ต้องการนำเสนอบริการที่มีความปลอดภัย และสะดวกรวดเร็ว แก่ผู้คนในการทำชำระเงินและบริหารจัดการเงินผ่านช่องทางออนไลน์
PayPal เปิดตัวแอพใหม่ เป็นยังไงไปดูกัน
โซเชียลคอมเมิร์ซได้กลายมาเป็นช่องทางการขายที่สำคัญของผู้ค้ารายย่อยในประเทศไทย ผู้ค้ารายย่อยจำนวนมากเปลี่ยนจากการขายของหน้าร้านค้าแบบดั้งเดิมมาเป็นการขายของบนโซเชียลมีเดีย ยกตัวอย่างเช่น Panicloset ร้านค้าเสื้อผ้าแฟชั่นออนไลน์ ที่ประสบความสำเร็จด้วยยอดขายที่เพิ่มขึ้นขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดยตั้งแต่เริ่มเปิดร้านบนโซเชียลมีเดียจนถึงปัจจุบัน Panicloset มีผู้ติดตามบนแฟนเพจมากถึง 1.6 ล้านคน และมีแนวโน้มว่าจะเติบโตขึ้นอีกเรื่อย ๆ ในอนาคต
บริษัท ที่ปรึกษา Brain & Co. คาดการณ์ว่า ราว 30 เปอร์เซ็นต์ ของยอดขายออนไลน์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาจากร้านค้าบนโซเชียลเน็ตเวิร์ค1 และมีแนวโน้มว่าจะเป็นไปในทิศทางบวก อย่างไรก็ตามแม้ว่าความนิยมทางด้านการค้าบนโลกโซเชียลจะเพิ่มขึ้น แต่ยังมีผู้ค้าหลายรายที่ยังคงกังวลกับขั้นตอนการทำธุรกรรมออนไลน์ที่ยุ่งยากหลายขั้นตอน โดยส่วนใหญ่จะเริ่มต้นจากการเลือกซื้อสินค้าจากร้านค้าในโซเชียลแพลตฟอร์มหนึ่ง แต่พอถึงขั้นตอนการชำระเงิน กลับต้องย้ายไปใช้อีกแพลตฟอร์มหนึ่ง แต่อย่างไรก็ดี ปัจจุบันโซเชียลมีเดียต่างๆ ได้ทำการเพิ่มเครื่องมือในการชำระเงิน เพื่อรองรับอีคอมเมิร์ซมากขึ้น ซึ่งหากผู้ค้าออนไลน์ในประเทศไทยต้องการขยายตลาด หรือเพิ่มการเติบโตของธุรกิจ ก็มีความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้หรือเปิดรับระบบรับชำระเงินที่เป็นสากลมากขึ้น ซึ่งจะสามารถช่วยสนับสนุนให้ผู้ค้าสามารถรับชำระเงินผ่านโซเชียลมีเดียได้อย่างสะดวกง่ายดายมากยิ่งขึ้น
ด้วย PayPal.Me สำหรับธุรกิจ ผู้ค้าและร้านค้ารายย่อย ไม่จำเป็นต้องส่งคู่มือการชำระเงินด้วยตนเอง หรือเลขที่บัญชีธนาคารให้แก่ลูกค้าอีกต่อไป ผู้ค้าสามารถตั้งค่าบัญชีผู้ใช้ของตนเอง โดยเพิ่ม URL ส่วนตัว (Personalized URL) เพื่อรับการชำระเงินระหว่างประเทศจากลูกค้า โดยบัญชี PayPal.Me นั้นจะลิงก์กับเจ้าของบัญชีผู้ใช้ PayPal ลิงก์การโอนเฉพาะตัว หรือ (Personalized unique transfer link) นี้ สามารถทำงานได้บนทุกอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็น ข้อความ (text message) , อีเมลล์, Messenger , โพสบนโซเชียลมีเดีย , บล็อก (blog) หรือแม้กระทั่งบนเว็บไซต์ โดยลิงก์นี้ยังสามารถใส่จำนวนเงินที่ต้องการเรียกเก็บได้ ในส่วนท้ายของ URL นั้น เช่น http://www.paypal.me/XYZClothing/USD25 ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมสำหรับผู้ซื้อในการจดจำแบรนด์ของผู้ค้าอีกด้วย เนื่องจากลิงก์นี้จะนำลูกค้าไปยังหน้าชำระเงินของ PayPal ที่ผู้ค้าสามารถตั้งและกำหนดค่าได้เอง